น้ำมังคุดแซนสยามคำตอบของการมีสุขภาพดี. น้ำมังคุดแซนสยาม อุดมไปด้วยสารแซนโทน ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง.
แซนสยาม น้ำมังคุดเพื่อสุขภาพ มีจำหน่ายในไทย และ อาเซียนมานานกว่า 8 ปี.
XanSiam Mangosteen Juice is the answer for optimal health. XanSiam Premium Mangosteen Juice is abundantly rich in Xanthones which are powerful anti-oxidants.
XanSiam contains a wealth of health benefits that have been experienced in the Thailand and South-East Asian market for over 8 years.
มังคุด เป็นผลไม้ที่มีมากในประเทศไทย และ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. แต่สำหรับมังคุดที่แซนสยามใช้ เป็นมังคุดที่คัดสรรมาจากสวนเกษตรอินทรีย์ และ มีขั้นตอนการผลิตตามมาตรฐานการส่งออกระดับนานาชาติ.
คุณค่าและคุณประโยชน์ของน้ำมังคุดแซนสยาม มีสูงกว่าอาหารเสริมทั่วไป อีกทั้งยังมีรสชาติดี ดื่มได้ไม่มีเบื่อ.
Mangosteen fruit grows mainly through-out Thailand and other regions of South-East Asia. All mangosteen fruit used in XanSiam is traditionally farmed and has satisfied strict production standards during manufacturing to comply with the quality levels required for the International market.
The value and health benefits of Xansiam Mangosteen Juice is a winning combination of invigorating nutrients with a delicious taste you'll want to savour time and time again.
ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าผลมังคุดอุดมไปด้วยสารประกอบโพลีฟีนจากธรรมชาติ ที่เรียกว่า แซนโทน. โดยมังคุดจะมี แซนโทนประกอบอยู่สองชนิด คือ อัลฟาแมงโกสทีน และ แกมม่า แมงโกสทีน.
แซนโทน และ อนุพันธ์ นั้นมีประโยชน์หลายประการ, รวมทั้งต้านการอักเสบ. แซนโทนมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ . สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้มีคุณสมบัติในการรักษาเซลล์ที่เสียหายจากอนุมูลอิสระ, ชลอการเกิดริ้วรอย และ บรรเทาความเสื่อมสภาพทางร่างกาย.
Scientific Research has revealed that Mangosteen contains a class of naturally occurring polyphenol compounds known as xanthones. There are two types of xanthones in this fruit – alpha mangosteen and gamma mangosteen.
Xanthones and their derivatives have been shown to have several benefits, including anti-inflammatory. Xanthones are an effective remedy against various cardiovascular diseases. These antioxidants have healing properties which heal cells damaged by free radicals, slow down aging and ward off degenerative diseases and physical and mental deterioration.
มังคุด (Mangosteen) มีฉายาในแถบเอเชียว่าเป็น ราชินีแห่งผลไม้ “the queen of fruit” เนื่องด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี และนอกจากนั้นยังมีฉายาในแถบ French Caribbean ว่า อาหารของพระเจ้า “the food of the Gods”
มังคุด (Mangosteen) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Clusiaceae เป็นผลไม้ที่มีแหล่งกำเนิดแถบหมู่เกาะมาลายูและประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นผลไม้เมืองร้อน แต่ชอบฝนชุ่มฉ่ำ มีแหล่งปลูกมังคุด 3 แหล่งใหญ่ในเมืองไทย คือ ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และภาคกลางได้แก่ จังหวัดนนทบุรี มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ต้นตั้งตรงสูง 10-25 เมตร ใบสีเขียวเข้ม ทรงพุ่มแบนกลม มีใบเดี่ยวรูปไข่ เนื้อใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง และทุกส่วนจะมียางสีเหลืองค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง ผลสุกมีสีม่วงอมแดงหรือม่วงอมน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร เนื้อในของผลมังคุดสีขาวมีรสหวานอมเปรี้ยว บริเวณเปลือกนอกหนาประมาณ 8 มิลลิเมตร จะมีสารแทนนินในปริมาณสูงทำให้มีรดฝาดและยังเป็นสารธรรมชาติที่ช่วยในการป้องกันแมลง มีกระจุกของกลีบเลี้ยงดอกติดอยู่ที่ขั้วของผลอันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของมังคุด มีสิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับมังคุดที่น่าสนใจคือ มังคุดจัดเป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ไม่มีการกลายพันธุ์ จึงมีลักษณะดั้งเดิมเหมือนสมัย 100 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องของ GMO (Genetically Modified Organism) หรือการตัดแต่งพันธุกรรม ที่จะเกิดขึ้นกับมังคุดของไทย
มังคุดเป็นผลไม้ยอดนิยมที่สุดชนิดหนึ่งของคนไทย จะมีออกมาให้เราบริโภคเพียงปีละครั้ง คือช่วงย่างเข้าฤดูฝน การเก็บรักษามังคุดให้สดนานที่สุด คือ เก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส โดยบรรจุในถุงพลาสติกไม่เจาะรู ปิดปากถุงให้แน่นเนื่องจากป้องกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าสัมผัสกับมังคุดเพราะออกซิเจนจะทำให้ลักษณะของมังคุดไม่น่ารับประทาน และควรเลือกมังคุดที่ยังเป็นสีชมพู วิธีนี้จะรักษามังคุดไว้ได้นานประมาณ 49 วัน
มังคุดเป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์ ในทั้งรูปร่างและรสชาติ และนอกจากนั้นยังเป็นแหล่งของสารอาหารและสารธรรมชาติที่สำคัญต่อร่างกายอีกหลายชนิด
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมังคุด
คาร์โบไฮเครต | 18.4 |
โปรตีน | 0.5 |
ใยอาหาร | 1.7 |
แคลเซียม | 11.0 |
ฟอสฟอรัส | 17.0 |
เหล็ก | 0.9 |
นอกจากสารอาหารที่อยู่ในเนื้อมังคุดแล้ว เปลือกของมังคุดยังมีสารธรรมชาติที่สำคัญคือ แซนโทน (xanthones) แอนโทไซยานิน (anthrocyanin)และ แทนนิน (tannin)
แซนโทน (Xanthone) เป็นสารสำคัญที่มีมากในเปลือกมังคุด เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีสูตรโมเลกุลคือ C13H8O2 มวลโมกุล 196.19 กรัมต่อโมล จุดเดือด 351 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ มีอนุพันธุ์ของสารประกอบนี้มากกว่า 40 ชนิด แต่ละชนิดของอนุพันธุ์ก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป
อนุพันธุ์ที่มีความน่าสนใจที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษามีอยู่หลายชนิดคือ อัลฟาแมงโกสติน (alpha-mangostin) แกมม่าแมงโกสติน (gamma-mangostin) เบต้าแมงโกสติน (beta-mangostin) แมงโกสติน (mangostin) การ์ซิโนน (garcinone B, C, D, E)
คนไทยสมัยโบราณได้มีการนำเปลือกมังคุดมาใช้เป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพราะเปลือกมังคุดมีรสฝาดมีฤทธิ์สมาน จึงนำมาใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยการใช้เปลือกสดหรือเปลือกแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งต้มกับน้ำรับประทานก็ได้ผลเช่นเดียวกัน นอกจากนี้เปลือกมังคุดยังมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว เช่นใช้รักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลเป็นหนอง โดยการใช้เปลือกมังคุดฝนกับนำปูนใสทาบริเวณแผล น้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งใช้ล้างแผลแทนน้ำยาล้างแผลหรือด่างทับทิม (1-2)
นอกจากความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแล้วยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อีกมากมายที่เป็นหลักฐานยืนยันได้ถึงสรรพคุณทางเภสัชของเปลือกมังคุด ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุท้องเสีย
สารสกัดน้ำต้มเปลือกผลมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ได้แก่ แบคทีเรียกลุ่ม Shigella (บิดชนิดไม่มีตัว)(3-5) Escherichia coli (เชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุดในคน)(6) Streptrococcus faecalis(7-8) Vibrio cholerae (เชื้ออหิวาต์ทำให้เกิดอุจจาระร่วงอย่างแรง)(4-8) Salmonella agona (แบคทีเรียที่ทำให้อาหารเป็นพิษ), S. typi (เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคไข้ไทฟอยด์), S. typimurium (เชื้อที่ทำให้ลำไส้อักเสบ) (5-6) และสารสกัดน้ำต้มจากเปลือกที่ความเข้มข้น 62.5-500 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออหิวาต์และเชื้อไข้ไทฟอยด์ (5-6)
2. ฤทธิ์แก้อาการท้องเสีย
สารที่พบมากที่เปลือกคือแทนนินซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดรสฝาด สามารถช่วยแก้อาการท้องเสียได้ พบว่า การใช้ทิงเจอร์จากเปลือกผลร่วมกับ emetine จะช่วยลดอาการบิดจากเชื้ออะมีบา และลดขนาดของยา emetine ที่ต้องใช้ลง(7)
3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดหนอง
สารสกัดเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดหนอง คือ Staphylococcus aureus(9-11) และเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยา methicillin (MRSA)ส่วนของการสกัดจากปิโตรเลียมอีเทอร์จะให้ผลยับยั้งแบคทีเรียด้วยความเข้มข้นต่ำที่สุดมากกว่ายา meticillin ถึง 20 เท่า และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยความเข้มข้นต่ำที่สุด ซึ่งมีฤทธิ์สูงกว่า ยา meticillin ถึง 100 เท่า (12-14) นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า โลชั่นที่ประกอบด้วยสารสกัดจากเปลือกผลของมังคุด 0.75% และสบู่เหลวที่ประกอบด้วยสารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกผลมังคุด 0.15% มีฤทธิ์ในการยับยั้ง แบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดหนอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (15) สารผสมของสารสำคัญ mangostin และอนุพันธ์ สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาเพนิซิลิน มีประสิทธิภาพเทียบเท่ายา Vancomycin(16-18)
4. ฤทธิ์การรักษาแผล
สารแมงโกสติน จากผลมังคุดมีผลรักษาแผลในหนูขาวได้(19) และครีม GM1 ประกอบด้วยสารสกัดจากมังคุดมีคุณสมบัติใช้ในการรักษาแผล แผลติดเชื้ออักเสบ และแผลในผู้ป่วยเบาหวาน (9)
จากผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยยืนยันสรรพคุณของมังคุดจากการใช้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม ให้กลายเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่ามังคุดเป็นผลไม้ที่น่ามหัศจรรย์จริงๆ ปัจจุบันนี้ มีการให้ความสนใจคุณประโยชน์ที่อยู่ในเปลือกมังคุดกันมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาพ จึงเป็นที่นิยมในการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพกันอย่างมากมาย
ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเปลือกมังคุด
1. ผลิตภัณฑ์ยา/เสริมอาหาร
แคปซูลเปลือกมังคุด การร์ซิดีน ยาทาแผลจากเปลือกมังคุด
2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์
ยาสีฟัน ครีมบำรุงผิว ผงขัดหน้า เจลแต้มสิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
น้ำมังคุดพร้อมดื่ม น้ำมังคุดเข้มข้นแช่แข็ง เนื้อ+เปลือกตีป่น แช่แข็ง
อนุมูลอิสระ ( Free Radical ) คือ คือโมเลกุลหรืออิออนที่มีอิเลคตรอนโดดเดี่ยว อยู่รอบนอกและมีอายุสั้นมากประมาณน้อยกว่า 0.1 มิลลิวินาที หรือ 10-3 - 10-10 วินาที จึงจัดว่าเป็นโมเลกุล ที่ไม่เสถียรและว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปกติแร่ธาตุทั้งหลายในร่างกายของเราจะมีอีเลคตรอนอยู่วงรอบเป็นจำนวนคุ่ ซึ่งทำให้โมเลกุลนั้นคงตัว ในกรณีที่มีการสูญเสีย อิเลคตรอน หรือรับ อิเลคตรอน มาอีกเพียง 1 ตัวจะทำให้โมเลกุลนั้นไม่มั่นคง กลายเป็นตัวอันตรายและตัวเจ้าปัญหาคือชอบแย่ง อิเลกตรอน มาจากโมเลกุลอื่นแทน 1 ตัว ผู้ถูกแย่งก็กลายเป็นตัวเจ้าปัญหาแทนเพราะตนไม่มั่นคง ต้องไปแย่งคนอื่นมาเป็นทอดๆ อนุมูลอิสระจึงเป็นสารพิษต่อเซลล์ร่างกาย ถ้ามีมากใน เซลล์ก็เป็นอันตรายได้โดยจะทำลาย ดีเอนเอ เยื่อหุ้มเซลล์ และชีวโมเลกุลอื่นๆ
ตัวอย่างของ อนุมูลอิสระ ได้แก่
O2- Superoxide anion อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์
OH- Hydroxyle radical อนุมูลไฮดรอกซิล
ROO Peroxyde radical อนุมูลเปอร์ออกซี
H2O2 Hydrogen Peroxide ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ชนิดของอนุมูลอิสระสามารถแบ่งได้อย่างง่ายๆ คือ
1. อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของ ร่างกายเอง
2. อนุมูลอิสระจากภายนอกร่างกาย
2.1 การติดเชื้อ ทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส
2.2 การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ (autoimmune diseases) เช่น ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
2.3 รังสี
2.4 สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ เช่น ควันเสียและเขม่าจากเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ ยาฆ่าแมลง
2.5 การออกกำลังกายอย่างหักโหม
อนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นมาทั้งจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายเอง และในภาวะที่ผิดปกติเช่น ภาวะของโรค หรือภาวะที่ร่างกายแวดล้อมด้วยมลพิษโดยในภาวะที่ผิดปกติจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการสะสมของอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจำเป็นที่ร่างกายต้องหาทางป้องกัน การโดนทำลายจากอนุมูลอิสระเหล่านั้น สิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อปกป้องตัวเอง ก็คือระบบแอนตี้ออกซิ-แดนท์ (antioxidants) ซึ่งประกอบไปด้วยสารหรือเอนไซม์ต่างๆ ที่ความเข้มข้นต่ำๆ ก็สามารถจะชะลอหรือป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสาร (substrate)ที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยสาร (substrate) เหล่านี้รวมถึงสารเกือบทุกชนิดในร่างกาย เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ดีเอ็นเอ แต่อย่างไรก็ตามมีบางภาวะที่ปริมาณอนุมูลอิสระมีมากเกินกว่าที่ระบบแอนตี้ออกซิแดนท์จะจัดการได้ จะเกิดภาวะที่เรียกว่า oxidative stress ขึ้นมาซึ่งจะส่งผลกระทบต่างๆ ต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น การทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ของดีเอ็นเอ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเกิดการทำลายของเยื่อหุ้มเซลล์ ก่อให้เกิดผลเสียต่อเซลล์ และการทำลายเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของการแก่ (aging) และรุนแรงไปถึงการเกิดเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น เส้นเลือดตีบ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน (autoimmune disease) โรคที่เกิดจากการที่เลือดกลับไปเลี้ยงอวัยวะที่เคยมีการตีบตันของเส้นเลือดในระยะสั้นๆ มาก่อน รวมไปถึงโรคมะเร็ง เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) จะทำลายอนุมูลอิสระโดยการจับกับอนุมูลอิสระ ลดการเกิดปฏิกิริยา ณ จุดตั้งต้นหรือยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยปกติร่างกายของคนเรามีกลไกการทำลายอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ โดยผลิตเอนไซม์บางชนิดซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระออกมา เช่น Glutathione reductase แต่ถ้ามีอนุมูลอิสระมากเกินไป ร่างกายก็จำเป็นต้องได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารและสารสำคัญอื่นจากพืช (phytonutrients) ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
แซนโทน (xanthone) ก็จัดเป็นกลุ่มสารสำคัญที่มีมากในมังคุด และมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ยืนยันถึงสรรพคุณในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าแมงโกสตินจากมังคุดสามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันและป้องกันการเกิด LDL-cholesterol (low density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันที่เราเรียกกันว่า คลอเลสเตอรอล และเมื่อลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันเหล่านี้ได้ ก็จะลดอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือโรคหัวใจขาดเลือดได้(20-21) และมีผลของการศึกษาฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระโดยวิธี ORAC (Brunswick Laboratories) ทำการเปรียบเทียบระหว่างน้ำผลไม้อื่นๆและมังคุด พบว่า มังคุดมีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระมากกว่า แครอท ราสเบอรรี่ บลูเบอรรี่ ทับทิม
นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยให้หนูกินอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้อาหารแบบเดียวกันแต่ให้กินสารสกัดจากมังคุด พบว่า หนูในกลุ่มที่กินอาหารที่มีปริมาณคลอเลสเตอรอลสูงและกินสารสกัดจามังคุด มีปริมาณของคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือดน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินสารสกัดจากเปลือกมังคุด(22) และมีผลการวิจัยจากประเทศจีนพบว่าแซนโทน สามารถป้องกันการถูกทำลายของเยื่อบุผนังหลอดเลือดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL ซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่จะป้องกันการเกิด plaque บริเวณผนังหลอดเลือด(23) นอกจากการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายแล้วมังคุดยังมีคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดดอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ป้องกันผิวจากแสงแดด ที่ประกอบด้วยสาร แมงโกสตินจากเปลือกมังคุด ในอัตรา ร้อยละ 20 สามารถป้องกันผิวจากแสงแดดมี Sun Protective Factor (SPF) เท่ากับ 10.4 จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น มังคุดถือเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากนี้ไปคงทำให้มังคุดเป็นทางเลือกหนึ่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภคที่รักและใส่ใจสุขภาพ
มะเร็ง คือ เนื้องอกชนิดร้ายที่เกิดขึ้นมาใหม่จากเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย มีการเจริญเติบโตอยู่นอกเหนือการควบคุมของร่างกายและมีโทษต่อร่างกาย เซลล์มะเร็งจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเป็นก้อนหรือเป็นแผลมะเร็งขนาดใหญ่ ลักษณะการโตของก้อนมะเร็งจะเป็นแบบแทรกซ้อน หรือมีส่วนยื่นเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติโดยรอบเหมือนขาปู (ฉะนั้นสัญลักษณ์ของมะเร็งหรือเครื่องหมายขององค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งหรือเครื่องหมายขององค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งจึงมักจะใช้รูปปู เป็นเครื่องหมาย) การแทรกซึมเช่นนี้ จึงมีการทำลายหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก หรือจากการที่ก้อนมะเร็งโตเร็วมาก จนขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง และลักษณะที่สำคัญของมะเร็งคือ เซลล์มะเร็งจากมะเร็งปฐมภูมิสามารถจะแพร่กระจายไปได้ทั่วร่างกาย ไปเกิดขึ้นใหม่เป็นมะเร็งทุติยภูมิตรงส่วนอื่นของร่างกายที่อยู่ห่างไกลออกไป
ในปี พ.ศ.2367 นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อ ฟรองซัวส์ แวงซองต์ ราสปายส์ (Francois Vincent Raspail) ได้กล่าวไว้ว่า "เซลล์ของร่างกายมนุษย์ นอกจากจะเป็นรากฐานของการมีชีวิตและสุขภาพแล้ว เซลล์ยังเป็นรากฐานของโรคภัยไข้เจ็บและความตายด้วย" นั่นคือการเกิดมะเร็งก็จะมีจุดเริ่มต้นจากเซลล์เช่นกัน โดยจะเกิดความพิการหรือผิดปกติที่ยีน (gene) ภายในโครโมโซม (chromosome) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นกรดนิวคลีอิกและเป็นรหัสชีวิตที่จะควบคุมลักษณะและหน้าที่การทำงานของเซลล์และการถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ความพิการหรือผิดปกติเช่นนี้ ทำให้เซลล์แบ่งตัวโดยไม่ยอมหยุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของร่างกาย นักวิจัยเป็นจำนวนมากทั่วโลกต่างก็ได้พยายามที่จะค้นคว้าวิจัยว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ปกติเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง และก็ยังไม่สามารถจะสรุปแน่นนอนได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรแน่ แต่ก็พอจะสรุปได้ว่ามีเหตุส่งเสริมที่สำคัญหลายอย่างร่วมกัน อันจะทำให้เซลล์นั้น ๆ ทำงานผิดปกติไปคือ
1. สาเหตุภายในร่างกายเอง (เชื้อชาติ, พันธุกรรม, เพศ, อายุ เป็นต้น)
2. สาเหตุจากภายนอกร่างกาย (ทางกายภาพ - แสงอาทิตย์, นิ่ว, แผลจากไฟไหม้, น้ำร้อนลวก ; ทางเคมี-สารหนู, สีย้อมผ้า, บุหรี่ เป็นต้น)
3. การอักเสบจากการติดเชื้อเรื้อรังนานๆ
4. ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเป็นมะเร็ง โดยจะพบค่าผิดปรกติ เมื่อเป็นโรคมะเร็ง
5. อนุมูลอิสระ (free radical) ภายนอกร่างกาย ได้แก่ มลพิษในอากาศ โอโซน ไนตรัสออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่น ควันบุหรี่ อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว
หรือธาตุเหล็กมากกว่าปกติ แสงแดด ความร้อน รังสีแกมม่า ยาบางชนิด เช่น Doxorubicin , Penicillamine, paracetamol ภายในร่างกายได้แก่ ออกซิเจน เป็นต้น
ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรค มะเร็ง ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้ก็เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชาชนคนไทยและในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ซึ่งมลภาวะจากการพัฒนาประเทศ และประชาชนขาดความเอาใจใส่ต่อสุขภาพตนเอง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เลือก เหล่าเป็นสาเหตุให้มะเร็งเพิ่มขึ้น โรคมะเร็งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง และเมื่อเป็นแล้วโอกาสในการหายมีน้อย จึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพและดูแลตัวเองให้แข็งแรงและลดปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
สมาคมการวิจัยเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง American Institute for Cancer Research และองค์กรที่รณรงค์ในการป้องกันมะเร็งต่างๆ ได้แนะนำแนวทางการป้องกันมะเร็งไว้หลายทาง แต่หนึ่งในนั้นคือการรับประทานอาหารที่มาจากพืชรวมทั้งการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสมและการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอาหาร และวิตามินในพืชสามารถทำให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดี ยับยังการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง
แซนโทน ก็เป็นสารจากพืชที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด พบว่า สารกลุ่ม mangostenones และ alpha mangostin มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งทำให้เกิดการตายลง 50% จากทั้งหมดของเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องปาก (epidermoid carcinoma of the mouth) เซลล์มะเร็งเต้านม (breast cancer) เซลล์มะเร็งปอด (small cell lung cancer) ที่ระดับไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรของสารสกัดจากผลมังคุด(24) สารสกัดจากเปลือกมังคุด สามารถยับยั้งการแบ่งตัวและทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านม(25) ในเซลล์มะเร็งอื่นๆเช่น เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL60) ก็พบว่า สารแซนโทนจากเปลือกมังคุดโดยเฉพาะอัลฟ่าแมงโกสติน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้(26) นอกจากนี้อัลฟ่าแมงโกสตินยังทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งต่อมหมวกไต (PC12 cell) อีกด้วย(27) ส่วนในเซลล์มะเร็งตับพบว่า สาร garcinone E ที่ได้จากการสกัดเปลือกมังคุด มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งตับได้ดีที่สุด รองลงมาคือ เซลล์มะเร็งกระเพาะและเซลล์มะเร็งปอดตามลำดับ(28) สารแซนโทนนอกจากจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งแล้ว ยังพบว่าสารแซนโทนมีความสามารถในการเพิ่มการสร้างของเม็ดเลือดขาวซึ่งจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้นตามไปด้วย(29)
จากผลงานวิจัยการเป็นสารต้านมะเร็งของสารแซนโทนและอนุพันธุ์ต่างๆของสารแซนโทน ทำให้เป็นที่ยอมรับของนักวิจัยในหลายสถาบัน เพราะสารแซนโทนมีคุณสมบัติที่สามารถยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด นักวิจัยคาดว่าต่อไปในอนาคตสารแซนโทนน่าจะสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นของการทำเป็นยาในการรักษาโรคมะเร็ง(30-31) แต่ทางที่ดีควรจะบริโภคมังคุดเพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งน่าจะดีกว่า
เนื่องจากในปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่างๆได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีมลภาวะที่เป็นพิษเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่ในภาวะรีบเร่ง เครียดและกดดัน ต่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน นอกจากภาวะสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำรงชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีเชื้อโรคและโรคใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย บางโรคก็ยังไม่มียารักษาได้บางโรคก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ร่างกายจึงจำเป็นต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการกระตุ้นของสารพิษหรือการติดเชื้อต่างๆ
ภูมิชีวิต (Immune System) คือระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดของร่างกายที่ทำหน้าที่คอยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย เข้ามาทำอันตรายต่อร่างกายหรือเมื่อหลุดเข้ามาแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็จะพยายามทำลายกำจัดสิ่งแปลกปลอมให้หมดไปจากร่างกายโดยเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่โดยสังเขปของ ระบบอิมมูนร่างกายคือ
- Defense ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
- Homeostasis คอยกำจัดเซลล์ปกติที่เสื่อมสภาพเช่นเม็ดเลือดที่มีอายุมากแล้ว ออกจากระบบของร่างกาย
- Surveillance คอยจับตาดูเซลล์ต่างๆที่จะ แปรสภาพผิดไปจากปกติ เช่น คอยดักทำลาย tumor cells เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
ความสามารถในการตอบสนองของระบบอิมมูนต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นกับ ปัจจัยบางอย่างดังต่อไปนี้
1. พันธุกรรม (Genetic factor) ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า การตอบสนองทางระบบอิมมูนอยู่ภายใต้การควบคุมทางพันธุกรรม ดังหลักฐานการค้นพบไม่นานนี้ เกี่ยวกับ genetic complex บนโครโมโซม ซึ่งควบคุมการตอบสนองทางอิมมูน ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือคู่แฝดชนิดที่กำเนิดจากไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twin) มักจะ เป็นโรคเดียวกัน มากกว่าคู่แฝดที่กำเนิดจากไข่คนละใบ (dizygotic twin) และโรคบางอย่างมักเป็นในกลุ่มชนเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าอีกเชื้อชาติหนึ่งเป็นต้น ปัจจุบันเชื่อว่าโรคต่างๆ ในมนุษย์เกิดจากความล้มเหลวของ genes ที่ควบคุมการตอบสนองทางอิมมูน
2. อายุ (Age factor) เด็กเล็กๆ และผู้สูงอายุเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าในคนหนุ่มสาวทั้งนี้เพราะในเด็กเล็ก ๆ ระบบอิมมูนยังเจริญไม่เต็มที่ขาดภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันโรค เช่น ผิวหนังบางและกลไกการเกิดการอักเสบยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เป็นต้น เมื่ออายุมากขึ้น การทำหน้าที่ของระบบอิมมูนในร่างกายจะค่อยๆ ลดลงไป ในผู้สูงอายุปริมาณของอิมมูนโนโกลบูลิน และการทำหน้าที่ของ เซลล์ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (cell mediated immunity) จะน้อยกว่าคนหนุ่มสาว จะเห็นได้ว่า นอกจากผู้สูงอายุจะเป็น โรคติดเชื้อได้ง่ายแล้ว อัตราการเกิดโรคภูมิต้านทานตนเอง (autoimmune) และโรคมะเร็ง จะมีมากกว่าในคนหนุ่มสาว
3. แมทาบอลิซึม (Metabolic factor) ฮอร์โมนบางชนิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบอิมมูน เช่น สเตอรอยด์ (steroid) จะมีฤทธิ์ยับยั้ง การทำงานของเม็ดเลือดขาว ลดการอักเสบ และลดการสร้างแอนติบอดี จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับ steroid นานๆ จะเกิดโรคบางชนิดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคสุกใส, การติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
4. ภาวะสิ่งแวดล้อม (Environmental factor) สิ่งแวดล้อมก็มีความสำคัญ กลุ่มชนที่ยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่ากลุ่มชนที่มีความเป็นอยู่ดีกว่า ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดอาหาร ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบอิมมูนเลวลง
5. กายวิภาคของร่างกาย (Anatomic factor) ผิวหนังและเยื่อเมือกที่อวัยวะต่างๆทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่ร่างกายใช้ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีปัญหาผิวหนังแพ้ง่ายหรือสูญเสียผิวหนังจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก คุณสมบัติดังกล่าวจะเสียไป เกิดการติดโรคและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ง่ายกว่าในคนปกติ
6. จุลชีพ (Microbial factor) จุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยไม่ทำให้เกิดโรค เช่นในลำไส้ นอกจากจะช่วยผลิตวิตามิน K ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ จุลชีพที่ทำให้เกิดโรค (pathogenic microorganism) ได้ด้วย เมื่อใดก็ตามที่จุลชีพชนิดแรกถูกทำลาย เช่น ได้รับ broad-spectrum antibiotic จุลชีพให้เกิดโรคจะทวีจำนวนขึ้นเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้นได้
7. สรีระของร่างกาย (Physiologic factor) ที่มีอยู่ในร่างกายช่วยป้องกันโรคได้ เช่นน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ขนอ่อน (cilia) ในระบบทางเดินหายใจ การขับถ่ายปัสสาวะ ฯลฯ ถ้าสิ่งดังกล่าวผิดไปจากปกติ จุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
Immune System หรือระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดหลายพวกที่ทำหน้าที่ร่วมกัน ภูมิต้านทานของร่างกายอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ cellular immunity เป็นภูมิต้านทานของร่างกายที่ต้องอาศัย "เซลล์" เป็นสำคัญ ตรงกันข้ามกับ humoral immunity ที่อาศัยสารน้ำ (humor) คือ antibody หรือ immunoglobulin ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในซีรั่ม
เซลล์ ใน cellular immunity มักจะหมายถึง กลุ่มของเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ ทีลิมโฟไซต์ (T lymphocyte) และอาจหมายถึง macrophage ด้วยก็ได้ Cellular immunity มีความสำคัญในการต่อต้านโรคติดเชื้อที่เกิดจาก intracellular bacteria เช่น แบคทีเรีย
Mycobacterium tuberculosis ที่ทำให้เกิดโรควัณโรค / Mycobacterium leprae ที่ทำให้เกิดโรคเรื้อน Brucella ที่ทำให้เกิดโรค Brucellosis / Salmonella typhi ที่ทำให้เกิดไข้ไทฟอยด์ /โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเกือบทุกชนิด/โรคติดเชื้อรา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่คอยตรวจตราและคอยทำลายเซลของร่างกายที่เปลี่ยนไปเป็น เนื้องอก (tumor cell)
จากรูป เป็นขบวนการฆ่าเชื้อโรคของระบบภูมิคุ้มกัน
หากระบบภูมิต้านทานของเราไม่สามารถรีบกำจัดเจ้าสิ่งแปลกปลอมออกไปจากระบบโดยเร็วได้ ปล่อยให้เชื้อโรคนั้นสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็จะป่วยจากเชื้อนั้นขึ้นได้ เชื้อโรคร้ายรอบๆตัวเราที่พยายามบุกรุกเข้ามาในร่างกายเรา โดยใช้ช่องทางทางปาก ระบบทางเดินอาหาร / จมูก ระบบทางเดินหายใจ / ผิวหนัง
ที่เกิดเป็นแผล หรือช่องทางเปิดอื่นๆ เช่น หู ตา ช่องทวารหนัก ช่องคลอด ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น เมื่อระบบภูมิต้านทานของเราเป็นปกติดี ร่างกายก็สามารถกำจัดแอนติเจนสิ่งแปลกปลอมออกไปจากระบบได้ทันก็ไม่เกิดอาการเจ็บป่วยใดๆ หากแต่เมื่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง เมื่อยล้า จากสาเหตุต่างๆข้างต้น โดยที่เห็นได้ชัด เช่นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ เป็นตัวอย่างชัดเจนว่าเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายถูกทำลายจากเชื้อไวรัส HIV เมื่อภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้เกิดการป่วยจากโรคช่วยโอกาสต่างๆที่อยู่รอบตัวเรารุกเข้ามาทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมากมาย ซึ่งโรคเหล่านี้จะไม่สามารถทำอันตรายกับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติได้เลย เช่น โรคผิวหนังเรื่อรัง เชื้อรา วัณโรคการติดเชื้ออื่นๆได้ง่ายขึ้น ติดเชื้อเริม มะเร็งผิวหนัง อื่นๆ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน cellular immune response อาจให้โทษแก่ร่างกายได้โดยทำให้เกิดโรคภูมิแพ้บางอย่าง เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (contact dermatitis) เป็นตัวการทำให้เกิดการต่อต้านต่อเนื้อเยื่อใหม่ที่นำมาปลูกถ่าย ที่อาจทำให้ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ถึงแก่ชีวิตได้ หรือภาวะภูมิต้านทานต่อตนเอง (autoimmune disease)
แล้วสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดมีผลอย่างไรบ้างต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นคำถามที่นักวิจัยหลายคนได้ตอบคำถามด้วยผลงานวิจัยที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไว้หลายงานวิจัย พบว่า แกมม่าและแอลฟ่า-แมงโกสติน จากเปลือกมังคุดสามารถบรรเทาอาการแพ้โดยแกมม่า-แมงโกสติน แสดงฤทธิ์ต้านฮีสตามีนและสารแอลฟา-แมงโกสติน แสดงฤทธิ์ต้านซิโรโทนิน เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดจะหลั่งสารฮีสตามินและเซอโรโทนิน ทำให้เกิดอาการแดงหรือที่เรียกว่าอาการแพ้ ดังนั้นเมื่อสารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถยับยั้งการสร้างฮีสตามีนและเซอโรโทนิน จึงทำให้สามารช่วยป้องกันการแพ้และการอักเสบได้(32) นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดเอทานอล 40%, 70%, 100% และสารสกัดน้ำ (33) แกมม่า-แมงโกสติน(34-35) และแอลฟ่า-แมงโกสติน(35) มีกลไกการออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสร้าง prostaglandin E2 แกมม่า-แมงโกสติน ยังออกฤทธิ์ยับยั้ง cyclooxygenase1และ2 ซึ่งเป็นสารที่จะหลั่งในภาวะบวมและอักเสบ โดยมีความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ได้ 50% เท่ากับ 0.8 และ 2.0 ไมโครโมล ตามลำดับ และพบว่าสารสกัดเอทานอล 40%, สามารถยับยั้งการหลั่งของฮีสตามีนจากเซลล์ที่ถูกกระตุนได้มากกว่า 80% นอกจากฤทธิ์ในการยับยั้งอาการแพ้แล้วยังพบว่า แมงโกสตินและอนุพันธ์ที่ละลายน้ำได้ 2 ชนิด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของข้อได้อีกด้วย พบว่าสารประกอบน้ำตาล polysaccharides จากเปลือกมังคุด สามารถเพิ่มความสามารถในการฆ่าเซลล์แบคทีเรียชนิด S. enteritidis ของเม็ดเลือดขาวชนิด monocyte(37)
นอกจากฤทธิ์ในการสร้างภูมิต้านทานและลดการอักเสบแล้วยังมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถต้านการแบ่งตัวของไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (Human immunodeficiency virus (HIV)) และสารสกัดเมทานอลจากเปลือกมังคุดยังสามารถยับยั้งเอ็นไซม์โพรทีเอส ซึ่งจำเป็นต่อวงจรชีวิตของเชื้อเอชไอวี ทำให้หยุดยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้
จากผลงานวิจัยข้างต้นน่าจะพอสรุปได้ว่าสารจากเปลือกมังคุดสามารถช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อปองกันการเกิดโรคติดเชื้อ การอักเสบและโรคภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี
เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายขาดอินซูลินหรือบางที่ไม่ขาด แต่อินซูลินที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ผลเต็มที่ ทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลไม่ได้ตามปกติ ยังผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
โรคเบาหวานที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1 ต้องพึ่งอินซูลิน มักพบในคนอายุน้อย เด็กและวัยรุ่น ในผู้ใหญ่พบได้บ้างต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน ถ้าขาดยาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงตายได้ เกิดจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลายด้วยสาเหตุที่ยังไม่ทราบแน่นอน ทำให้สร้างอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย
ชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน เพราะตับอ่อนยังผลิตอินซูลินได้ในจำนวนที่อาจปกติ น้อยลง หรือมากขึ้น แต่อินซูลินที่มีอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร พบได้ในผู้ใหญ่ และคนอ้วน คนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปมีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ 2 นี้
สาเหตุของโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า กรรมพันธุ์ ความอ้วน การตั้งครรภ์ ความเครียด เป็นผู้สูงอายุ รวมทั้งโรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เนื้องอกในต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง เป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญของการเกิดโรคนี้
อาการของผู้ป่วยเบาหวานในรายที่เป็นไม่มาก (ระดับน้ำตาลในเลือด 140-200 มก.ต่อเลือด 100 มล.) อาจไม่มีอาการ ผิดปกติอย่างชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือดขณะที่ไปหาหมอด้วยโรคอื่น ในรายที่มีอาการชัดเจน จะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมาก ๆ) กระหาย น้ำ ดื่มน้ำบ่อยหิวบ่อย หรือกินข้าวจุอ่อนเปลี้ยเพลียแรงบางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว กินเวลาเป็นสัปดาห์ หรือเดือน เด็กบางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไปเรื้อรัง น้ำหนักตัวอาจลดบ้างเล็กน้อย บางคนอาจมีน้ำหนักขึ้นหรือรูปร่างอ้วนผู้หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตาม ช่องคลอด หรือตกขาวบางคนอาจมีอาการคันตามตัวเป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก ผู้หญิง อาจคลอดทารกที่มีตัวโตน้ำหนักมากกว่าธรรมดา หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษหรือคลอดทารกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ในรายที่เป็นมานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกทีหรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ เป็นต้น
• ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
• ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
• ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
• โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)
• โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
• โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
• แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่การรักษาต้องใช้ทั้งยาและการปรับพฤติกรรมของการบริโภคร่วมด้วย โดยต้องควบคุมการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาลเพราะการรักษาด้วยการกินยาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ในปัจจุบันได้มีการวิจัยในเรื่องของสมุนไพรที่ช่วยในการรักษาโรคเบาหวานกันอย่างมากมาย มังคุดก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีการศึกษาถึงฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในสัตว์ทดลองพบว่าสารแซนโทนสามารถทำให้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานชนิดที่ II ลดลง ซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่แซนโทนทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น จึงสามารถนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้เร็วขึ้น
แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสำหรับผู้ป่วยเบาหวานคือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในหลายๆระบบ เนื่องจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมากในผู้ป่วยเบาหวานอาจทำให้เกิดการทำลายเซลล์ในระบบอื่นๆ ทำให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะในระบบนั้นๆ แต่มังคุดก็มีบทบาทที่อาจจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนเหล่านั้นได้ พบว่าครีม GM1 ที่ประกอบด้วยสารสกัดจากมังคุดมีคุณสมบัติใช้ในการรักษาแผลในผู้ป่วยเบาหวาน (9)
จากรูป แผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
การที่มีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูงแบบเรื้อรังจะทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นทำให้เกิดการเสียหายบริเวณผนังหลอดเลือดทำให้คุณภาพและการยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป สารสกัดจากเปลือกมังคุดและอนุพันธ์ยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(40,41) ที่จะช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบหลอดเลือด(23) ทั้งหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดในไต และอาการแทรกซ้อนทางสายตาเนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมได้ และรวมถึงอาการแทรกซ้อนในระบบประสาทส่วนปลายที่เกิดการเสื่อมจากอนุมูลอิสระที่ทำลายเนื้อเยื่อในระบบประสาททำให้เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบ เกิดอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนั้นแล้ว สารแซนโทนในมังคุดยังสามารถต้านต่อ เชื้อแบคทีเรีย ปรสิต และ เชื้อรา(18) ซึ่งอาจเป็นการป้องกันการติดเชื้อในระบบปัสสาวะและอาจสามารถช่วยลดอาการติดเชื้อแทรกซ้อนทางไตได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในทุกวันนี้คนไทยเรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยหันมาบริโภคเนื้อสัตว์กันมาก จึงทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูงขึ้น รวมทั้งน้ำตาลและโซเดียมเพิ่มมากขึ้นด้วย ประกอบกับวิถีชีวิตประจำวันที่นั่งทำงานอยู่กับที่มากขึ้น เคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้คนไทยเราอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมากเป็นประวัติการณ์
โรคหัวใจและหลอดเลือด (CARDIOVASCULAR DISEASE) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางอายุรศาสตร์ ที่เกี่ยวพันกับหัวใจและหรือหลอดเลือด ซึ่งจะหมายรวมถึง โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease), ความดันสูง (Hypertension) และภาวะหลอดเลือดหัวใจแข็ง (Arteriosclerosis) หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ อาการความดันโลหิตสูง การมีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งจะรบกวนการไหลเวียนของเลือด และส่งผลให้หัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ ทั้งนี้หัวใจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยแสดงอาการเจ็บหน้าอก หรือมีอาการแน่นหน้าอก และถ้ายังคงมีการขัดขวางการไหลเวียนของเลือดเกิดขึ้นต่อไปอีกอย่างสมบูรณ์ก็จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) หรือ heart attack ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากอาการหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานอย่างหนักในการสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายหัวใจในเวลาต่อมา ดังนั้น ภาวะดังกล่าวที่กล้ามเนื้อหัวใจมีการถูกทำลายอย่างต่อเนื่องนี้จึงเรียกว่า ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (Chronic heart failure) ซึ่งการมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเพิ่มมากขึ้นก็จะสัมพันธ์กับความสามารถในการสูบฉีดโลหิตลดลงอีกด้วย
โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือด ได้แก่
- โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Stroke) หรือโรคลมปัจจุบัน เป็นภาวะที่สมองสูญเสียหน้าที่การทำงาน สาเหตุอาจจะเกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ischemia หรือเกิดจากเส้นเลือดสมองแตก และมีเลือดคั่งในเนื้อสมอง (hemorrhage) เมื่อเกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง (ischemic stroke) ทำให้สมองขาดออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นสมองจึงหยุดทำงาน ทำให้ความสามารถในการพูดและการมองเห็นเสื่อมลง อัมพาต หรือขาดสติ และถ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เซลล์ประสาทที่ได้รับผลกระทบจะตายซึ่งความเสียหายจะเกิดขึ้นอย่างถาวร
- ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (Arteriosclerosis) เป็นภาวะที่เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ไม่สามารถขยายได้เมื่อหัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดหนาตัวจึงลดการยืดหยุ่นของเส้นเลือด หรือเกิดจากมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด (plaque) ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด จึงส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอจึงเกิดอาการ เช่น เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ นอกจากนั้นคราบไขมันอาจจะหลุดจากผนังหลอดเลือดทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นอกจากระดับ cholesterol แล้วปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหลอดเลือดแข็งคือตัวที่จะพาไขมันไปตามเส้นเลือดซึ่งเรียกว่า lipoprotein ที่สำคัญมีสองชนิดคือ
• Low-density lipoproteins (LDL) ซึ่งจะพา cholesterol จากตับไปสู่ร่างกาย LDL เป็นไขมันที่ไม่ดีหากมีมากจะทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบได้ง่าย
• High-density lipoproteins (HDL) เป็นตัวที่พา cholesterol จากร่างกายเข้าสู่ตับ หากมีHDL สูงการเกิดโรคหลอดเลือดจะน้อยลง
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่เกิดเนื่องจากมีแรงกระทำต่อผนังหลอดเลือดมากซึ่งทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น โดยความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นควรรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ จนก่อให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจวาย
เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เราสามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงหลัก เช่น อาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ไม่ออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอย่างเพียงพอ ทำให้ไม่เกิดการสะสมของไขมันที่ผนังเส้นเลือด หรือเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพ
แซนโทน(xanthone) เป็นสารประกอบโพลีฟีนอลิก (polyphenolic compound) สามารถพบได้ในเนื้อและเปลือกของมังคุด จากการทดสอบทางเภสัชวิทยาพบว่าสารแซนโทนและสารอนุพันธ์ของแซนโทน มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคหัวใจขาดเลือด(42) (ischemic heart disease) ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (Arteriosclerosis) โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) และการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด(46) (thrombosis) และนอกจากนี้สารแซนโทนยังมีสมบัติอื่นๆ อีกมาก เช่น มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด(44) (platelet aggregation) ต้านการเกิดลิ่มเลือด และลดความตึงของหลอดเลือด(43) (vasorelaxation) เป็นต้น
จากผลงานวิจัยพบว่าการที่หัวใจและหลอดเลือดต้องทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ทั้งหัวใจและหลอดเลือดได้รับอนุมูลอิสระจากการออกซิไดซ์ของออกซิเจนในกระแสเลือดได้ และด้วยคุณสมบัติของแซนโธนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีส่วนช่วยในต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้ และยังช่วยยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันที่เป็น Low-density lipoproteins (LDL) ซึ่งมีผลทำให้คอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง และแซนโธนยังมัผลช่วยในการยืดหยุ่นตัวของเส้นเลือดที่เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการเพิ่มขึ้นของ Ca2+ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟรินและ K+ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือด โดยแซนโทนมีผลไปปิดกั้นการปล่อย Ca2+ จึงมีผลช่วยลดการหดตัวของเส้นเลือด(45)
คงจะเป็นการกล่าวที่ไม่ผิดว่ามังคุดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและ เป็นผลไม้ที่มีศักยภาพ ทั้งทางด้านอาหารและยา จากงานวิจัยต่างๆที่ศึกษาถึงผลทางเภสัชวิทยาของมังคุดทำให้ปัจจุบันมีการเพิ่มมูลค่าของมังคุดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากมาย ทั้งใช้ภายนอกและรับประทานเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่รักสุขภาพในการสนับสนุนผลไม้ไทยที่มีคุณค่า เพื่อประโยชน์ในการรักษาและป้องกันการเกิดโรค แต่ก็ต้องยอมรับว่าคงจะไม่มีอาหารหรือยาใดๆในโลกที่กล่าวได้ว่าดีที่สุด การรักษาสุขภาพแบบองค์รวม ในเรื่องของการบริโภค การออกกำลังกาย การฝึกจิตใจ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคที่รักและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเอง
1. “สมุนไพรน่ารู้.” วันดี กฤษณพันธ์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่3 พ.ศ. 2541.
2. “สุขภาพดีด้วยสมุนไพรใกล้ตัว” โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาสน์ กรกฏาคม 2541.
3. Praserdsook S, Sukchotiratana M, Effect of some medicinal plant extracts on the growth of dysenteric becteria. Symposium on Sciences and Technology of Thhailand 12th, Bangkok, Thailand, Oct. 20-22, 1986.
4. จริยา สินเดิมสุข สมเกียรติ ดีกิจเสริมพงศ์. ฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ต่อกลุ่มแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงและกลุ่มแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้. วารสารกรมการแพทย์ 2532ว 14(6):421-6.
5. จริยา สินเดิมสุข สมเกียรติ ดีกิจเสริมพงศ์ วีณา จารุปรีชาชาญ. เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาโรคอุจจาระร่วงระหว่างใบฝรั่งและเปลือกมังคุด. วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2532; 16(2):32-5.
6. Chiyasothi T, Reksopha W. Effect of some medicinal plants.Special Project for the Degree of B.Sc.(Pharm), Faculty of Pharmacy, Mahidol University, Thailand, 1975.
7. Garnett M, Sturton SD. G. mangostana in the treatment of amoebic dysentery. Chinese Med J 1932; 46(10): 969-73.
8. Gritsanapan W., Chulasiri M. A preliminary study of antidiarrheal plants: I. Antibacterial activity. Maidol Univ J Pharm Sci 1983; 10(4):119-22.
9. ธวัชชัย เชื้อประไพศิลป์ พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา เมตตา องค์สกุล และ คณะ. ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในทางการแพทย์. การประชุมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19, จ.สงขลา, 27-29 ต.ค. 2536.
10. จันจิรา อินตรา อนุสรา รอดรักษา. การพัฒนาสบู่เหลวสมุนไพรต้านเชื้อแบคทีเรีย. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2542.
11. ประสิทธิ์ ธราวิจิตรกุล. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกมังคุด. สัมมนาวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพเภสัชกรรม ครั้งที่ 2 “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อการแพทย์แผนไทย” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 21-23 มิ.ย. 2543: 142.
12. Surassmo S, Tanticaiwanit S, Banmai S, Comnawang MT. Antibacterial activity of medicinal plants against methicillin-resistant Staphylococcus aureus. The 20th Congress of Federation of Asian Pharmaceutical Associations (FAPA), Bangkok, Thailand, Nov. 30-Dec.3, 2004: 236.
13. ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย หลิน กิจพิพิธ. ฤทธิ์ต้านเชื้อของสารสกัดสมุนไพรไทยต่อ clinical isolates ของ methicillin-resistant Staphylococcus aureus. วารสารสงขลานครินทร์ วทท. 2548;27: 525-34.
14. Dharmaratne HRW, Piyasena KGNP, Tennakoon SB. A geranylated biphenyl derivative from Garcinia mangostana. Nat Prod Res 2005; 19(13): 239-43.
15. ณัฐพันธุ์ ตันตินฤพงษ์ ตุลาภรณ์ ม่วงแดง. การพัฒนาสบู่สมุนไพรต้านเชื้อ. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2543.
16. วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม ฉวีวรรณ จันสกุล วราคม ไชยยศ พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา. สารเคมีจากเปลือกมังคุดและฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย. การประชุมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8, จ.กรุงเทพ, 2525.
17. วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร. ฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของสารเคมีในเปลือกมังคุดและอนุพันธ์. การประชุมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10, จ.เชียงใหม่, 2527.
18. Mahabusarakum W, Phongpaichit S, Jansakul C, Wiriyachitra P. Screening of antibacterial activities of chemicals from Garcinia mangstana Linn. J Sci Soc Thailand 1986; 12(4): 239-43.
19. Shankaranarayan D, Gopalakrishnan C, Kameswaran L. Pharmacological profile of mangostin and its derivatives. Arch Int Pharmacodyn Ther 1979; 239(2): 257-69.
20. Mahabusarakam W, Proudfoot J, Taylor W, Croft K. Inhibition of lipoprotein oxidation by prenylated xanthones derived from mangostin. Free Radic Res. 2000; 33(5): 643-59.
21. Williams P, Ongsakul M, Proudfoot J, Croft K, Beilin L. Mangostin inhibits the oxidative modification of human low density lipoprotein. Free Radic Res. 1995; 23(2): 175-84.
22. Maria L, Hanna L, Jerzy D, Zenon J, Ratiporn H, Sumitra P, and et al. Two exotic fruits positively affect rat’ plasma composition. Food Chem 2007; 102: 192-200.
23. Jiang DJ, Hu GY, Jiang JL< Xiang HL, Deng HW, Li YJ. Relationship between protective effect if xanthone on endothelial cells and endogenous nitric oxide synthease inhibitors. Bioorg Med Chem. 2003; 11(23): 5171-7.
24. Orapin K and et al. Xantones of mangosteen fruit with cytotoxicity activity against cancer cell lines. Program of Chemistry, Faculty of Science and technology, Suan Dusit Rajabhat University, Bangkok, Thailand.
25. Moongkarndi p. Kosem N, Kaslungka S, Luanratana O, Pongpa N, Neungton N. Antiproliferation, antioxidant and induction of apoptosis by Garcinia mangoatana (mangosteen) on SKBR3 human brest cancer cell line. J Ethnopharmacol. 2004; 90(1): 161-6.
26. Matsumoto K, Akao Y, Kobayashi E, Ohguchi K, Ito T, Tanaka T, Iinuma M, Nozawa Y. Gifu International Institute of Biotechnology, 1-1 Naka-Fudogaoka, Kakamigahara, Gifu 504-0838, Janpna.
27. Sato A, Fujiwara H, Oku H, Ishiguro K, Oizumi Y. Alpha-mangostin induces Ca(2+)-ATPase-dependent apoptosis via mitochondrial pathway in PC12 cells. J Pharmacol Sci. 2004; 95(1): 33-40.
28. Ho CK, Huang YL, Chen CC. Garcinone E, a xanthone derivative, has potent cytotoxic effect against the hepatocellular carcinoma cell lines. Planta Med. 2002; 68(11): 975-9.
29. Pedro M, Cerqueira F, Sousa ME, Nascimento MS, Pinto M. Xanthones as inhibitors of growth of human cancer cell lines and their effects on the proliferation of human lymphocytes in vitro. Bioorg Med Chem. 2002; 10(10): 3725-30.
30. Liou SS, Shie WL, Cheng TH, Won SJ, Lin CN. Gamma-pyrone compounds as potential anti-cancer drugs. J Pharm Parmacol. 1993; 45(9): 791-4.
31. Lin CN, Liou SJ, Lee TH, Chuang YC, Won SJ. Xanthone derivatives as potential anti-cancer drugs. J Parm Pharmacol. 1996; 48(5): 539-4.
32. Chairungsrilerd N, Furukawa K, Ohta T, Nozoe S, Ohizumi Y. Histaminergic and serotonergic receptor blocking substances from the medicinal plant Garcinia mangostana. Planta Med. 1996; 62(5): 471-2.
33. Nakatani K, Atsumi M, Arakawa T, Osawa K, Shimura S, Nakahata N, Ohizumi Y. Inhibitions of histamine release and prostaglandin E2 synthesis by mangosteen, a Thai medicinal plants. Biol Pharm Bull. 2002; 25(9): 1137-41.
34. Nakatani K, Nakahata N, Arakawa T, Yasuda H, Ohizumi Y. Inhibition of cyclooxygenase and prostaglandin E2 synthesis by gamma-mangostin, a xanthone derivative in mangosteen, in C6 rat glioma cells. Biochem Pharmacol. 2002; 63(1): 73-9.
35. Ohizumi Y, Arakawa T, Osawa K, Shimura S. Cyclooxygenase inhibitor containing Garcinia mangostana extract or mangostin, and foods and beverages containing the inhibitor. Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 2002 47,180,2002: 6pp.
36. Hutadilok N, Studies on the effect of mangostin and its derivatives on hyaluronic acid degradation in vitro. Songklanakarin J Sci Technol. 1992; 14(2): 149-56.
37. Chanarat P, Chanarat N, Fujihara M, Nagumo T. Immunopharmacological activity of polysaccharide from the pericap of mangosteen garcinia: phagocytic intracellular killing activities. J Med Assoc Thai. 1997; 80 Suppl 1: S149-54.
38. Vlietinck AJ, De Bruyne T, Apers S, Pieters LA. Plant-derived leading compounds for chemotherapy of human immunodeficiency virus (HIV) infection. Planta Med. 1998; 64(2): 97-109.
39. Chen SX, Wan M, Loh BN. Active constituents against HIV-1 protease from Garcinia mangostana. Planta Med. 1996; 62(4): 381-2.
40. Fan C, Su J. Antioxidative mechanism of isolated components from methanol extract of fruit hulls of Garcinia Mangostana L. J Chinese Agric Chem Soc. 1997; 35: 540-551.
41. Yoshikawa M, Harada E, Miki A, Tsukamoto K, Liang S, Yamahara N, Murakami N. Antioxidant constituents from the fruit hulls of Mangosteen (Garcinia Mangostana L.) originating in Vietnam. Yakugaku Zassi. 1994; 114: 129-133.
42. Jiang DJ, Dai Z, Li YJ. 2004. Pharmacological effects of xanthones as cardiovascular protective agents. Cardiovasc Drug Rev. 22(2):91-102.
43. Wang LW, Kang JJ, Chen IJ, Teng CM, Lin CN. 2002. Antihypertensive and vasorelaxing activities of synthetic xanthone derivatives. Bioorg Med Chem. 10(3):567-72.
44. Rajtar G, Zolkowska D, Kleinrok Z, Marona H. 1999. Antiplatelets activity of some xanthone derivatives. Acta Pol Pharm. 56(4):319-24.
45. Cheng YW, Kang JJ. 1997. Mechanism of vasorelaxation of thoracic aorta caused by xanthone. Eur J Pharmacol. 336(1):23-8.
46. Lin CN, Hsieh HK, Liou SJ, Ko HH, Lin HC, Chung MI, Ko FN, Liu HW, Teng CM. 1996. Synthesis and antithrombotic effect of xanthone derivatives. J Pharm Pharmacol. 48(9):887-90.
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
Name | Description | Tel |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
อำนาจ เจริญโห้ | 081-754-7646 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
สายทอง พลเยี่ยม | 086-221-4753 | |
แอม | 087-065-8940 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
สมนึก นิลวัณน์ | 081-474-9362 | |
ประสานสินธิ์ (ดีเจกล้วยไข่) | 087-046-9877 | |
จิตฐิพร | 085-731-3332 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
วรรณา มีโคตร | 089-714-6807 | |
กลอง ทองโม้ | 085-305-3689 | |
วิชาญ | 098-584-9215 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
เยี่ยมรักษ์ ทองสมบัติ | 089-711-4680 | |
สมัย ภูมิคอนสาร | 081-601-3835 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
ภคพรพรรณ อ่อนแสง | (ดีเจกวาง) | 081-181-3534 |
ณัฐยา แก้วจา | 081-887-1461 | |
ธีทัต ธีรดวงใจ | 084-688-4346 | |
ร้านมยุรา อาหารสัตว์ | 089-959-8594 | |
ชลนิภา บิณศิรวานิช | 081-972-7562 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
สุนิสา พันโกศล | 086-256-3311 | |
ดีเจเพชรลุ่มน้ำมูล | 080-161-8207 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
บรรจง เกษสาคร | 081-688-0100 | |
ร้านชาญศิริเภสัช | 056-251-119 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
นพรัตน์ เทศศรีเมือง | 089-826-0147 | |
ร้านเทียนชัยภานิช | 081-749-6626 | |
กุหลาบ การะกุล | 096-752-4313 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
ลุงหนวด | 061-037-8794 | |
อ. สภา เศรษฐนุรักษ์ | 081-266-9859 | |
อรพรรณเภสัช | 085-743-9161 |
ชื่อ | รายละเอียด | เบอร์โทร |
---|---|---|
บ่าวย้อ | 083-518-9659 | |
ธรรมสร บุญครอง | 089-054-9282 | |
วรรณา พิชัยกุล | 085-603-4409 | |
กิติพัทธ์ รักศรี | 092-445-4595 | |
ประเทือง สระทองแดง | 099-271-5859 |